วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม วิถีชีวิต (เศรษฐศาสตร์) การทำสวนยางพารา ตอนที่ 5

วิธีปลูก
          ก่อนที่จะย้ายต้นยางที่จะใช้ปลูกไปยังสวน จะต้องปรากฏว่า
          (๑) มีฝนตกชุกและดินชุ่มชื้นมากพอสมควรเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าปลูกในระยะที่ฝนยังไม่ชุกมากจริง ๆ  และดินยังไม่ชุ่มชื้นพอ จะทำให้รากไม่เจริญและชะงักงันไปชั่วคราว กว่าจะตั้งตัวใหม่ได้อาจต้องกินเวลาหลายวัน หรือถ้าแล้งมาก ต้นอาจตายก็ได้
          (๒) มีแรงงานที่จะช่วยกันปลูกไว้พร้อมเพรียง  ถ้าปลูกเสร็จในวันเดียวกันกับที่ได้รับต้นยางมาจะดีมาก  หากปลูกไม่ทันในวันนั้น จำเป็นจะต้องเลื่อนไปในวันรุ่งขึ้น ต้องรดน้ำที่ลำต้นและรากให้ชุ่มชื้น ถ้าเอาไปเก็บไว้ในที่ที่ให้ปลายรากแช่น้ำเล็กน้อยได้ยิ่งดี
          ในการนำต้นยางลงปลูก  ถ้าเป็นหลุมที่กลบดินเตรียมไว้แล้ว ให้ใช้ไม้แทงลงไปตรงกลางหลุมหรือใช้เสียมขุดเป็นหลุมตรงลงไป ควรใช้ไม้วัดรากแก้วตั้งแต่โคนต้นลงไปจนถึงปลายรากว่ายาวเท่าใด แล้วจึงแทงหรือขุดเป็นหลุมลึกลงไปเท่าที่วัดได้ เมื่อสอดต้นลงไปแล้ว  ปลายรากจะจดถึงก้นหลุมที่แทงหรือขุดไว้พอดี และโคนต้นจะอยู่ที่ระดับพื้นดินเดิม แล้วย่ำรอบ ๆ ดินจะได้แน่น ไม่มีโพรงอากาศที่น้ำจะอาศัยค้างอยู่ได้  เป็นการป้องกันมิให้ดินโคลนต้นยุบลงเป็นแอ่งขังน้ำ  ซึ่งจะทำให้ต้นยางแช่น้ำตายได้   การปลูกต้องระวังอย่าให้รากแก้วและรากแขนงงอบิดเบี้ยว
          การติดตาต้นกล้าในสวน เจ้าของสวนยางบางคนเห็นว่า การติดตาในสวนหรือในไร่สะดวกกว่า เพราะ ไม่ต้องถอนย้ายต้นไปปลูกใหม่ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็อ้างว่า การติดตาในสวนมักติดไม่สำเร็จพร้อมกันทั้งหมด  ติดบ้างไม่ติดบ้าง  ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความขยันขันแข็งของเจ้าของสวนยางแต่ละคน การติดตาในสวนทุ่นค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการซื้อต้นติดตามาปลูก
          การติดตาในสวนที่หลุมปลูกนั้น จะต้องติดตากับต้นกล้าที่ปลูกไว้แล้ว  ต้นตอหรือต้นกล้าที่กล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ๒ วิธี
          วิธีที่ ๑ เอาต้นกล้าขนาดเล็กพันธุ์ธรรมดามาปลูกไว้ก่อน
          วิธีที่ ๒ เอาเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้าในหลุมปลูก หรือเพาะเมล็ดเสียก่อน แล้วย้ายเมล็ดงอกเอาไปปลูกที่หลุมปลูก
          เมื่อต้นกล้าอายุ ๓-๔ เดือนขึ้นไป คือ ลำต้นเริ่มมีสีน้ำตาลบ้างแล้ว ก็ใช้เป็นต้นตอสำหรับติดตาได้


                                                                                            
พันธุ์ยางที่ควรใช้ปลูก
          ควรใช้พันธุ์ยางที่ปรากฏผลดีมาแล้ว คำว่า "ผลดี" ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึง  ผลดีแต่เฉพาะน้ำยางอย่างเดียว ต้นยางที่ให้ผลดีหรือ ที่เรียกว่าพันธุ์ดีนั้น อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย  คุณสมบัติต่อไปนี้ด้วย
          (๑) ให้น้ำยางสูงกว่าต้นยางธรรมดา
          (๒) เปลือกหนา
          (๓) เปลือกที่ถูกกรีดแล้วงอกใหม่เร็ว
          (๔) ความเจริญของลำต้นสม่ำเสมอดี ไม่ใช่พอกรีดแล้วต้นหยุดเจริญ หรือเจริญช้ามาก หรือลำต้นเปลี่ยนรูปไป
          (๕) เปอร์เซ็นต์เป็นโรคเปลือกแห้งมีน้อย  หรือไม่มีเลย ยางพันธุ์ดีหลายพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก  แต่กรีดน้ำยางให้ออกมากไม่ได้   มักจะกลายเป็นโรคเปลือกแห้งและกรีดน้ำยางไม่ออกอีกต่อไป
          (๖) ต้นแข็งแรง พุ่มใบไม่ใหญ่เกินไป ทนต่อความแรงของลมหรือพายุได้ดี
          การที่จะให้รู้ว่า พันธุ์ยางชนิดใดจะมีลักษณะดีตามคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นจริงหรือไม่ ต้องใช้เวลานานมาก จะต้องกรีดทดลองเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐-๑๕  ปีขึ้นไปนับตั้งแต่ปีที่เริ่มกรีดได้ เจ้าของสวนยางจึงไม่ควรจะเสี่ยงต่อการใช้พันธุ์ยางที่ไม่รู้คุณสมบัติอันแท้จริง และไม่ควรตื่นไปตามคำโฆษณาชวนเชื่อ ข้อที่สำคัญที่สุด อย่าคิดแต่เรื่องน้ำยางมากอย่างเดียว  ให้คิดถึงคุณสมบัติอื่น ๆ   ประกอบ
          ในระยะนี้ มีพันธุ์ยางของต่างประเทศหลายพันธุ์ที่อยู่ในระหว่างการทดลอง หลายพันธุ์กำลังให้ผลเป็นที่น่าพอใจและก็มีหลายพันธุ์เหมือนกันไม่ให้ผลดี ได้คัดทิ้งไปแล้วเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่า ยังจะต้องคัดทิ้งต่อ ๆ ไปอีก ยังไม่แน่นอนว่า พันธุ์ใหม่ ๆ  ที่กำลังทดลองอยู่   มีพันธุ์อะไรบ้างที่เด่นในเรื่องนี้ ควรหารือกรมวิชาการเกษตร
                                                                                                

             พันธุ์ยางที่มีลักษณะและคุณสมบัติดี ที่ใช้ปลูกในปัจจุบันนี้ มีอยู่หลายพันธุ์ เช่น
          (๑) ถ้าใช้ในการติดตา ควรใช้พันธุ์พีอาร์ ๑๐๗  (PR 107) และ อาร์อาร์ไอเอ็ม  ๖๐๐  (RRIM 600) สองพันธุ์นี้  ควรปลูกในที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ดีจริง ๆ และในที่ที่ปลอดโรคใบร่วงชนิดไฟทอพทอรา กับพันธุ์พีบี ๕/๕๑ (PB 5/51) จีที๑ (GT1) และพีอาร์ ๒๕๕,   พีอาร์ ๒๖๑ (PR 255, PR 261)
          (๒) ถ้าใช้เมล็ดหรือต้นกล้าพันธุ์ดี  ในปัจจุบันนี้  ไม่นิยมใช้เมล็ดปลูกกันแล้ว เพราะหากล้าพันธุ์ดีได้ยาก และมักจะไม่ใช่พันธุ์แท้ สวนยางขนาดใหญ่ ๆ   ในมาเลเซียมีจำหน่ายอยู่บ้าง
          พันธุ์ยางดีชั้นรอง ๆ   ลงไปยังมีอีกหลายพันธุ์ มีทั้งพันธุ์ที่ผสมในประเทศไทยและในต่างประเทศ  ยังไม่ควรใช้ปลูกให้มากนัก

จนกว่าจะทราบผลแน่นอน  ของทางราชการ หรือของเอกชนที่ทดลองอยู่แล้ว เช่น  พันธุ์เคอาร์เอส  ๒๓  พีบี ๒๘/๕๙ อาร์อาร์ไอเอ็ม  ๗๐๓ (KRS 23, PB 28/59, RRIM 703)  พันธุ์ยางทีเจไออาร์ ๑ (TJIR 1) แม้ว่าจะเป็นพันธุ์เก่าซึ่งทางราชการไม่แนะนำให้ปลูก แต่ผลที่ประจักษ์อยู่ปรากฏว่า ในที่บางแห่งปลูกได้ผลดีมาก ฉะนั้น  ผู้ปลูกจะต้องสังเกตดูว่า   ถ้าที่ใดปลูกพันธุ์อะไรได้ผลดีก็ควรปลูกพันธุ์นั้นต่อไปได้

กิจกรรม วิถีชีวิต (เศรษฐศาสตร์) การทำสวนยางพารา ตอนที่ 4

การปลูกต้นยาง
          ใบอ้อยเป็นโรงงานทำน้ำตาลที่แท้จริง  เพราะสามารถสร้างน้ำตาลจากวัตถุดิบง่ายๆ  คือ  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและน้ำจากดินโดยมีแสงแดดเป็นพลังงาน ขบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์แสง (photosynthesis)  ส่วนโรงงานทำน้ำตาลนั้นเป็นเพียงผู้สกัดเอาน้ำตาลซึ่งมีอยู่แล้วออกมาจากอ้อยเท่านั้น
          ขบวนการสังเคราะห์แสง  เป็นขบวนการที่พืชสีเขียวเปลี่ยนพลังงานจากแสงแดดเป็นพลังงานเคมีซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลและแป้ง เป็นต้น
          ภายในใบอ้อยรวมทั้งพืชสีเขียวทั่วไป จะมีรงคสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟีลล์ อยู่มากมาย ทำให้ใบเป็นสีเขียวทั้งใบ ภายในใบมีช่องเปิดเล็กๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ แต่ด้านล่างมีมากกว่า  ช่องเปิดนี้เรียกว่า ปากใบ (stomata) ทำหน้าที่ถ่ายเทอากาศของน้ำของใบ
          ขบวนการสังเคราะห์แสง อาจแสดงให้เห็นง่ายๆ ด้วยสมการต่อไปนี้
                จากสมการแสดงว่า ในการสร้างน้ำตาลกลูโคส   (C6H12O6) ๑ โมเลกุลนั้นต้องใช้วัตถุดิบ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๖ โมเลกุล 

และน้ำ ๑๒ โมเลกุล  นอกจากน้ำตาลแล้วยังมีออกซิเจนซึ่งมาจากน้ำ ๖ โมเลกุล และน้ำอีก ๖ โมเลกุล
          การสังเคราะห์แสงมิใช่เป็นขบวนการง่ายๆ  เช่นที่ปรากฏตามสมการข้างบน แต่เป็นขบวนการที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนประกอบด้วยปฏิกิริยา ๒ ขั้น  คือ ขั้นแรก เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงแดดซึ่ง  เป็นพลังงานที่ไม่สามารถเก็บได้โดยตรง ให้มาอยู่ในรูปสารเคมีที่ให้พลังงานสูงคือ NADPH (nico- tinamide adenine dinucleotide phosphate) และ ATP (adenosine-5-triphosphate) ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงเท่านั้น จึงเรียกว่าปฏิกิริยาต้องการแสง  หรือ  "light reaction" ขั้นที่สอง เป็นการนำพลังงานที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการตรึงก๊าซ CO2 จากอากาศที่เข้าไปในใบทางปากใบและ CO2 จะถูก เปลี่ยนไปเป็นสารประกอบหลายอย่างด้วยการช่วย เหลือของเอนไซม์  (enzyme) หลายชนิดซึ่งทำหน้าที่ โดยเฉพาะเจาะจงจนกระทั่งได้เป็นน้ำตาล  ปฏิกิริยานี้ไม่ต้องใช้แสง  จึงเรียกว่า  ปฏิกิริยาไม่ต้องการแสง  หรือ  "dark reaction"  สารประกอบต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง CO2 เข้าไปในใบนับว่าเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป  คาลวิน (Calvin)   และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสาหร่าย และพืชบางชนิดที่ได้รับ C14O2
(radioactive carbon
dioxide) และได้เสนอวงจร (cycle) ของ CO2  ที่สมบูรณ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๖  วงจรนี้จึงเรียกว่า วงจรคาลวิน (Calvin cycle) ตามชื่อของเขา
          คาลวินได้พบว่าสารประกอบชนิดแรกที่พบภายหลัง  CO2  เข้าไปในขบวนการ dark reaction  คือ กรดฟอสโฟไกลเซอริก (3 - phosphoglyceric acid) เป็นกรดที่มีคาร์บอน ๓ อะตอม (3-carbon atom-C3) ซึ่งต่อมาคำ "C3" ได้กลายเป็นชื่อกลุ่มของพืชที่สร้างกรดฟอสโฟไกลเซอริก ขบวนการนอกจากจะเรียกว่าพืช  C3 แล้ว ยังมีผู้นิยมเรียกพืชคาลวิน (Calvin plant) อีกด้วย  ตัวอย่าง พืช C3 ได้แก่ ข้าว  ข้าวสาลี  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เป็นต้น
          ในปี  ค.ศ. ๑๙๖๕ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในฮาวายนำโดยคอร์ตสชาค (Kortschak) ได้เสนอราย งานว่าในอ้อยนั้นสารประกอบชนิดแรกที่พบมิใช่กรดฟอสโฟไกลเซอริกตามที่รายงานโดยคาลวิน แต่เป็น  กรดมาลิก (malic acid)  ซึ่งมีคาร์บอน ๔ อะตอม (C4) การค้นพบ

ดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันโดย แฮทช์ (Hatch) และสแลค (Slack) ในปีต่อมา  หลังจากนั้น  นักวิทยาศาสตร์จึงได้พบว่ามีพืชอีกหลายชนิด  ที่มีขบวนการเช่นเดียวกับอ้อย และเรียกชื่อพืชกลุ่มนี้ว่า  พืช "C4" (C4 plant)  ตัวอย่างได้แก่ อ้อย ข้าวโพด  ข้าวฟ่างและผักโขม เป็นต้น  พืชพวกนี้มีความสามารถสูงกว่าพวก C3 ในแง่ของการใช้ปัจจัยเพื่อการเจริญเติบโต  โดยเฉพาะแสงแดดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
          การวัดอัตราการสังเคราะห์แสงอาจกระทำได้หลายวิธี  แต่ที่นิยมคือวัดอัตราการตรึงก๊าซ C14O2  ต่อหน่วยพื้นที่ใบต่อหน่วยเวลา 


ซึ่งมักจะเป็นนาที หรือชั่วโมง วิธีนี้นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่สะดวกแล้วยังใช้ไม่ค่อยได้ผล  โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบพันธุ์อ้อย ทั้งนี้เพราะอ้อยแต่ละพันธุ์มีพื้นที่ใบแตกต่างกัน  อีกวิธีหนึ่งคือการวัดน้ำหนักแห้งทั้งหมด (total dry matter)  ต่อหน่วยเวลา ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี  อ้อยพันธุ์ใดให้น้ำหนักแห้งทั้งหมดมากกว่าในเวลาเท่ากัน ย่อมให้ผลผลิตมากว่าและการผลิตน้ำหนักแห้งทั้งหมดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเพิ่มพื้นที่ใบ
          อัตราการสร้างน้ำตาลของใบอ้อยมีมากน้อยเท่าไร จากการศึกษาในฮาวายพบว่าใบอ้อยที่มีพื้นที่ใบ ๕๗ ตารางเซนติเมตร สามารถสร้างน้ำตาล ๑ ช้อนชาในเวลา ๓๖ ชั่วโมง


                                                                                        

กิจกรรม วิถีชีวิต (เศรษฐศาสตร์) การทำสวนยางพารา ตอนที่ 3

การทำชานดินขั้นบันไดให้ได้ระดับ
          ที่ดินที่เป็นเนินหรือควนสูงยังใช้ทำประโยชน์ได้ โดยปรับพื้นที่ให้เป็นชานดินเหมือนกับขั้นบันไดให้ได้ระดับขนานไปกับพื้นดิน  บางทีอาจต้องทำชานดินเป็นชั้น ๆ  อ้อมไปตามไหล่เนินหรือควนทั้งลูก  เครื่องมือ  ในการหาระดับอย่างง่าย ๆ  เช่น ใช้ระดับน้ำในสายยางชนิดใส หรือใช้ไม้แนวระดับซึ่งมีขาสูงเท่ากัน ๒ ขา มีระดับน้ำติดไว้ตรงกลางของไม้ยาวที่ยึดขาทั้ง    ไว้ หรือจะใช้ "ดิ่งหน้าจั่ว" ซึ่งมีเชือกผูกลูกดิ่งห้อยลง จากมุมบนของหน้าจั่วก็ได้
          ความสำคัญของ  "ดิ่งหน้าจั่ว"  คือ  ทุก ๆ  ครั้งที่เชือกลูกดิ่งจากมุมบนของจั่วอยู่ที่จุดศูนย์กลางของฐานจั่ว  ขาของหน้าจั่วที่ยื่นออกไปเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง จะอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อตั้งต้นจากจุดหนึ่ง สมมุติว่า ขาของจั่วข้างหนึ่งวางอยู่ตรงหมุดที่    และขาอีกข้างหนึ่งวางอยู่ที่หมุดที่ ๒ เมื่อขยับขาจั่วทั้ง ๒ ข้างให้เส้นดิ่งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของฐานจั่ว ระดับของขาจั่วที่วางอยู่ที่หมุดที่    และหมุดที่     จะอยู่ในระดับเดียวกัน ในการหาระดับหมุดที่ ๓ ให้ขาข้างหนึ่งของหน้าจั่วเหยียบอยู่ตรงหมุดที่ ๒ และให้ขาอีกข้างหนึ่งก้าวไปยังหมุดที่ ๓ เมื่อเส้นดิ่งอยู่ตรงศูนย์กลาง ขาหน้าจั่วอยู่ตรงหมุดที่     ก็จะได้ระดับเดียวกันกับหมุดที่  ๒ และจะอยู่ในระดับเดียวกันกับหมุดที่ ๑ ด้วย ทำเรื่อย ๆ ไปตามวิธีนี้ ระดับที่จะได้ตรงหมุดที่ ๔-๕-๖ และต่อ ๆ  ไปจะเท่ากันเสมอ  และถ้าทำไปรอบ ๆ  เนินจะวนกลับมาถึงหมุดที่    ได้ระยะระหว่างขาจั่วทั้ง ๒ ข้าง จะถ่างให้ตรงพอดีกับระยะปลูกที่ต้องการได้ยิ่งดี  เช่น  หน้าจั่วก้าวไป    ครั้งให้ได้ระยะ ๓ เมตร พอดีที่จะปักหมุดสำหรับปลูกต้นยาง ๑ ต้น
          การหาระดับทำขั้นบันได ควรจะทำจากยอดเนินลงมา ระยะระหว่างขั้นควรให้ระยะตามข้อ ๓(๒) ข้างต้น ระยะขั้นจะถี่ห่างเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความชันของเนินหรือควนด้วย ถ้าชันมากจะใช้ระยะถี่ขึ้นเล็กน้อยได้ (ระยะที่กล่าวนี้  หมายถึง ระยะถี่ห่างกันทางอากาศของต้นยาง ไม่ใช่ระยะที่วัดบนดินที่ลาดเอียง) การทำชานดินเป็นขั้นบันได ทำให้ใช้ที่ดินได้ประโยชน์ ขึ้น แทนที่จะทิ้งที่ดินที่เป็นควนเขาให้เสียไป การปลูกต้นยางในที่ดินควนเขาตามวิธีนี้  เป็นการช่วยเก็บน้ำและรักษาดินมิให้พังทลายด้วย ชานดินดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยตัดดินลึกเข้าไปในเนินเหมือนกับจะทำถนนเลียบเขา แนวชานดินกว้างประมาณ  ๑.๕-๒ เมตร  เอียงเข้าไปทางเนิน น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลเข้าไปในเนินดิน จะมีคันดินด้านนอกกั้นมิให้น้ำไหลตกลงมาจากชาน

                                                                         
การขุดหลุมและเตรียมการสำหรับปลูก
          เมื่อปักหมุดเรียบร้อยแล้ว  ขั้นต่อไป คือ การขุดหลุมตรงที่ได้ปักหมุดไว้แล้วทุกหมุด  หลุมที่จะขุดควรขุดให้ได้ขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร กลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้  และให้ลึกประมาณ  ๕๐ เซนติเมตร ขนาดของก้นหลุมให้แคบกว่าปากหลุมเล็กน้อย
          ดินที่ขุดขึ้นควรขุดแยกดินบนไว้ต่างหากจากดินชั้นล่าง ตากแดดไว้ประมาณ ๑๐-๑๕ วัน เมื่อดินแห้งแล้ว ให้ย่อยดินชั้นบนให้ร่วน แล้วกวาดลงหลุมไปตามเดิม ย่ำดินให้แน่นพอสมควร กะให้สูงจากก้นหลุมประมาณ ๒๕-๓๐ เซนติเมตร ถ้าไม่พอก็ให้กวาดหน้าดินที่อยู่รอบ ๆ หลุมด้วยก็ได้ แล้วจึงกวาดดินล่างซึ่งผสมกับปุ๋ยร็อคฟอสเฟตหลุมละประมาณ ๑/๒
 กระป๋องบุหรี่ เติมลงไปจนเต็มหลุม ทั้งนี้เฉพาะการปลูกต้นตอติดตาเขียวซึ่งเป็นต้นเล็กมากเท่านั้น ถ้าต้นที่ใช้ปลูกเป็นต้นขนาดใหญ่ รากลึกลงไปเกือบถึงก้นหลุม  จะต้องใช้ดินบนผสมปุ๋ยเอาไว้ก้นหลุม รากต้นยางจึงจะได้อาหารตามต้องการ เสร็จแล้วให้ปักหมุดไว้ตรงกลางหลุมตามเติมจนกว่าจะถึงเวลาปลูก ถ้าหากเห็นว่า จะต้องรอเวลาอีกนานกว่าจะปลูก จะเก็บปุ๋ยเอาไว้ผสมกับดินล่างเมื่อจะปลูกต้นยางก็ได้


                                                                                    

กิจกรรม วิถีชีวิต (เศรษฐศาสตร์) การทำสวนยางพารา ตอนที่ 2

การวางแนวและปักหมุด (มบหรือชะมบ)
เมื่อตัดสินใจว่าจะปลูกแบบใด และจะให้ระยะเท่าใดแล้ว ขั้นต่อไป  คือ  การปักหมุดและการขุดหลุม  ก่อนที่จะขุดหลุมจำเป็นจะต้องรู้เสียก่อนว่า  จะขุดตรงไหนต้นยางจึงจะขึ้นเป็นแถวเป็นแนวได้ระเบียบ ถ้าจะปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หรือปลูกแบบถนนบนที่ราบ หรือบนเนิน หรือบนควนเตี้ย ๆ   ซึ่งไม่สูงชันจนถึงขนาดต้องทำชานดินเป็นขั้นบันไดอ้อมไปตามไหล่ควนหรือเนินแล้ว  ควรจะปลูกให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ตั้งได้ฉากซึ่งกันและกัน  ฉะนั้น ก่อนที่จะขุดหลุมจะต้องปักหมุดหรือปักมบให้เห็นแน่นอนเสียก่อน เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการปักหมุดมีดังนี้
          (๑) ไม้ฉากขนาดใหญ่ ทำเองได้โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้อะไรก็ได้ยาว ๓ เมตร  ๔ เมตร และ ๕ เมตร (หรือจะใช้ให้สั้นหน่อยโดยใช้ขนาด ๓ ฟุต ๔  ฟุต  และ ๕ ฟุต  ก็ได้) มาประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเป็นไม้ฉากขึ้น  มุมที่ตรงกันข้ามกับด้านที่ยาว ๕ เมตร (หรือ ๕ ฟุต) จะเป็นมุมฉาก
          (๒) เชือก ลวด หรือ หวายขนาดยาว ถ้าได้ขนาดยาวมาก ๆ ยิ่งดี  แต่ไม่ควรสั้นกว่า ๒๐ เมตร เชือกลวด  หรือหวายดังกล่าวนี้ ควรขึงให้อยู่ตัวก่อนจะดีมากที่เชือก ลวด หรือหวายให้ทำเครื่องหมายระยะปลูกไว้เป็นระยะ ๆ ถ้าใช้ระยะ ๓ x ๘ เมตร ทุก ๆ ระยะ    เมตร ให้เขียนสีแดงหรือผูกผ้าแดงไว้ ส่วนระยะอีกด้านหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะ ๘ เมตร จะใช้เชือก ลวด หรือหวายเส้นเดียวกัน  หรือจะใช้อีกเส้นหนึ่งต่างหากก็ได้โดยเขียนสีอื่น เช่น สีเขียว หรือผูกผ้าสีเขียวเป็นเครื่องหมายทุกระยะ ๘ เมตร
          (๓) หมุด  อาจใช้กิ่งไม้ที่เพิ่งโค่นลงมา เสี้ยมปลายให้แหลม หรือจะใช้ไม้ไผ่ก็ได้ ปักไว้ทุก  ๆ จุด  เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่จะขุดเป็นหลุมปลูกต่อไป
          เมื่อเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ   ดังกล่าวข้างต้นแล้ว   ขั้นต่อไปควรพิจารณาวางทิศทางว่า  จะตั้งต้นปลูกจากไหนไปไหน จะให้แถวต้นยางตรงไปทางทิศใด  เพื่อต้นยางจะได้รับแสงแดดมากที่สุด เมื่อตกลงใจจะให้แถวต้นยางไปทางทิศไหนแล้ว  ให้ลากเชือก  ลวด หรือ  หวายที่ทำเครื่องหมายไว้แล้วไปตามแนวที่ต้องการแล้วปักหมุดไว้ จากหมุดแต่ละหมุดให้ลากเส้นตัดให้ได้ฉากซึ่งกันและกัน  โดยอาศัยไม้ฉากที่เตรียมไว้สำหรับชี้แนวจะให้ตรงไปทางทิศใด   ค่อย     ทำไปทีละแนว  และปักหมุดไว้เป็นระยะ ๆ   จะได้แนวที่ขนานไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสำหรับปลูกต้นยางต่อไป



วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม สู่ภูมิหลัง

     1. การแสดงแผนที่โรงเรียนโดยใช้โปรแกรม Google  Earth
     2. การนำเสนอประวัติศาสตร์ทุ่งค่าย

                ผู้นำเสนอ

   1. นายวรรณพงษ์     นวลมะโน
   2. น.ส.พรรณนิภา     มีดวง

               ครูที่ปรึกษา

   1. น.ส.วิไล    พงศ์ภัทรกิจ
   2. น.ส.สุธารี     โออินทร์


Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล  และทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานเพราะสามารถใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และสามารถหาที่ตั้งหรือพิกัดของจังหวัดหรืออำเภอ สามารถบอกถึงตำแหน่งละติจูดและลองจิจูด – เส้นรุ้ง  เส้นแวง และยังสามารถนำโปรแกรมนี้มาประยุคใช้กับกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ที่มาของ Google Earth
แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูก่อเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น
โปรแกรม Google Earth มีประโยชน์อย่างไร        นับจากนี้ไปการดูแผนที่จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีเครื่องมีไฮเทคอย่าง Google Earth ที่จะมาช่วยในการค้นหา ซึ่งเป็นรูปแบบของการค้นหาง่ายขึ้น และสามารถค้นหาตำแหน่งต่างๆได้ละเอียดมากขึ้น พร้อมเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานให้สามารถค้นหาข้อมูลจากแผนที่ได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีที่ง่ายในการค้นหาจุดหมายปลายทางได้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยการใช้แผนที่ ของ Google Earth ที่ให้มุมมองทั้งกว้าง ยาว ลึก แบบมีมิติ
                        
ประวัติการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการหมู่ 2 บ้านทุ่งค่าย 
 บ้านทุ่งค่าย  นับเป็นสถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของภาคใต้  เพราะเคยเป็นที่ตั้งค่ายทหารจากนครศรีธรรมราชที่มาสมทบกับทหารเมืองตรัง  เพื่อต่อสู้กับพวกขบถแขกที่ยกเข้าโจมตีเมืองตรังในปี พ.ศ.2381 ดังปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 หน้า 77 เรื่องแขกสลัดยกเข้าตีเมืองตรัง  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 7 หน้า 3428  ชื่อบ้านนามเมือง
สถานที่สำคัญ
วัดชัยภูมิสถิต (วัดทุ่งค่าย)

บ้านตระกูลคีรีรัตน์
สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้  ทุ่งค่าย